หน้าเว็บ

ET 250

My ProFile


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



     คอมพิวเตอร์คือ?                                                                        
   คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device)ที่ มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้า หรือโปรแกรมได้ นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง  ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
     เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน4อย่าง (IPOS cycle)คือ

  • รับข้อมูล (Input)
  • ประมวลผล (Processing)
  • แสดงผล (Output)
  • เก็บข้อมูล (Storage)

     คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์                                                       

  • ความเร็ว (speed)

  • ความเชื่อถือ (reliable)

  • ความถูกต้องแม่นยำ (accurate)

  • เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information)

  • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว(move information)

     ประเภทของคอมพิวเตอร์                                                           
  • ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์(Supercomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงแต่จะมีราคาแพงที่สุด รวมทั้งต้องอยู่ทีห้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง ทำให้ต้องเป็นองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
  • เมนเฟรม (Mainframe)เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไป จัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์
  • มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer)มีราคาถูกกว่าเมนเฟรมมากสิ่งที่แตกต่างระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือความเร็วในการทำงานมินิคอมพิวเตอร์จึงได้ว่ามินิคอมพิวเตอร์เป็นขนาดกลาง
  • เวิร์คสเตชั่น(Workstation) และ ไมโครคอมพิวเตอร์(Micro Computer)ในการทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้นไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ได้แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น
  • คอมพิวเตอร์เครื่อข่าย(Network Computers)ถูกออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่ำ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยทำให้เหมาะสมกับการใช้งานปริมาณมาก ๆ ในองค์กรขนาดใหญ่รวมทั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต
  • คอมพิวเตอร์แบบฝัง(Embedded Computer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ทำให้มองไม่เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้านโดยควบคุมการทำงานบางอย่าง
     องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์                                          

     ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ5ส่วน คือ
     ฮาร์ดแวร์ (Hardware)                             
  คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง(peripheral)ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
  • หน่วยรับข้อมูล (input unit)
  • หน่วยประมวลผลกลาง (central processor unit )หรือCPU
  • หน่วยความจำหลัก
  • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
  • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
     ซอฟต์แวร์ (Software)                                     
  คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมีซอฟต์แวร์ (Software)ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ  โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์(Programming Language)  ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer)หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา  ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
  • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software )
     บุคลากร (Peopleware)                                     
    เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่าผู้ใช้ หรือยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอผู้ใช้คอมพิวเตอร์
แบ่งได้เป็นหลายระดับ  เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น 
แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้นทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่าเพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user) บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ

     ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)  
       ในการทำงานต่างๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่างข้อมูลและสารสนเทศคือ
     ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง
     สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน

     กระบวนการทำงาน (Procedure)                     
          กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตามเพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงาน พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง

บทบาทของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

 ในปัจจุบันนี้พบว่าได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างมาก ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น ด้านการบริหาร ด้านการวางแผนหลักสูตรด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านห้องสมุด การแนะแนวและบริการ การทดสอบและวัดผลประยุกต์ใช้ในงานวิจัย สื่อการสอน ด้านการจัดการสอน และด้านช่วยสอนเป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะด้านช่วยสอนเท่านั้นคอมพิวเตอร์ได้ถูกนำเข้ามาใช้ช่วยในการเรียนและการสอนอย่างจริงจัง  ศาสตราจารย์ ดร. Robert P. Taylor แห่งColumbia University ณ เมือง New York ได้สรุปบทบาทและหน้าที่การใช้งานคอมพิวเตอร์ไว้ว่า เป็นผู้ติวหรือผู้สอน (Tutor) ผู้สื่อ (Tools) และผู้เรียน (Tutee)
     บทบาทในด้านการศึกษา แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์ได้ 2 ด้าน ดังนี้  
  1. ด้านงานบริหารสถานศึกษา
  2. ด้านการเรียนการสอน 
      ด้านงานบริหารสถานศึกษา                                                                                   
     ใช้คอมพิวเตอร์ในงานข้อมูลสารสนเทศฝ่าย , งานวัดผลการศึกษา , งานการเงิน-บัญชี , งานพัสดุ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร และการจัดการข้อมูลต่างๆ ของโรงเรียน ทำให้สะดวก รวดเร็วและประสิทธิภาพของงานสูงขึ้น
      ด้านการเรียนการสอน                                                                            
      ได้แก่ การจัดทำสื่อการสอน , การจัดการเรียนการสอนนักเรียน และรูปแบบ วิธีการสอน โดยการนำ คอมพิวเตอร์มาช่วย เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI. (Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนแบบออนไลน์ ผ่านเวบไซท์ต่างๆ  ซึ่งสามารถแบ่งได้  ดังนี้
  • งานบริหาร (Administrative Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการบริหารองค์การ เช่น งานการเงิน บัญชี พัสดุ ทะเบียน และสารบรรณ
  • งานหลักสูตร (Curriculum Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตร เช่น ผลการเรียน อัตราส่วนระหว่างผู้เรียนต่อครู
  • งานห้องสมุด (Library Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการห้องสมุด เช่น การค้นหนังสือแทนการใช้บัตรรายการ เป็นต้น
  • งานพัฒนาวิชาชีพ(Professional development Application) คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แก่ครูเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน  
  • งานวิจัย (Research application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บผลการวิเคราะห์
  •  งานแนะแนวและบริการพิเศษ (Guidance and Special Service Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วย ในการเก็บรายงาน ผลการเรียนและพฤติกรรมผู้เรียน เป็นต้น
  • งานทดสอบ (Testing Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างข้อสอบ วิเคราะห์และประเมินผลการเรียน
  •  สื่อการสอน (Instructional Aids Applicationได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเรียนการสอน
 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการสอน การฝึกหัด การแก้ปัญหาโจทย์วิชาต่าง ๆ

เครือข่ายสังคมออนไลน์  

 (Online social network) 


 

        ธรรมชาติของมนุษย์มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและมีการพัฒนาในหลาย ๆ ด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของการใช้งานจึงเกิดเป็นสังคม   ออนไลน์ขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งในทุกวันนี้คือความต้องการที่จะออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตเพื่อทำความรู้จัก พูดคุย ติดต่อสื่อสารกัน 
     ยุคนี้ถือเป็นยุคของเว็บ 2.0 โดยก่อนหน้านี้เราจะอยู่ในยุคของเว็บ 1.0 ที่มีการสื่อสารทางเดียวคือ การอ่านเพียงอย่างเดียว แต่ช่วงหลัง ๆ มนุษย์เราด้วยความที่เป็นสัตว์สังคมจึงไม่ต้องการสร้างเว็บแค่ให้อ่านเพียง อย่างเดียว แต่เราสามารถสร้างความพึงพอใจ  โดยการสร้างประวัติโดยย่อ และ มีแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ให้เลือก ใช้รวมทั้งสามารถโพสต์ข้อความหรือแสดงความคิดเห็นได้ด้วย จึงเกิดเป็นสังคมออนไลน์ขึ้น
     เว็บไซต์เด่น ๆ ในสังคมไทยที่เป็นสังคมออนไลน์ ได้แก่ ไฮไฟว์, มายสเปซ, เฟซบุ๊ก, มัลติพลาย และ ทวิตเตอร์  ส่วนเอ็มเอสเอ็น นั้นเป็นการสนทนาออนไลน์หรือที่เรารู้จักว่า แชต ส่วน ยูทูบ ก็ไม่ได้จัดเป็นสังคมออนไลน์แต่ก็ถือเป็นส่วนประกอบได้เนื่องจากเป็นการแชร์ คลิปวิดีโอสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่กัน เพราะคำจำกัดความของสังคมออนไลน์ คือต้องมีการเขียนประวัติแนะนำตัวเอง
     ซึ่งเครื่อข่ายสังคมออนไลน์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในด้านการศึกษา ด้านการตลาด องค์กร และผู้ขายสินค้าแบรนด์ดังต่างๆได้   ทั้งนี้การใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ หากเรารู้จักใช้ก็ถือเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด แต่หากใช้ไม่เป็นอาจกลายเป็นเหมือนดาบสองคม

อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา



     
      อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางของการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วทั้งโลกเรา ต่างก้าวผ่านยุคแห่งสังคมข่าวสารแล้วซึ่งทำให้ประจักษ์ได้ว่าข่าวสารต่างๆนั้นจะเป็นประโยชน์ การพัฒนาประเทศทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆได้นั้นต้องอาศัยความรู้ในการจัดการ อย่างยิ่งการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามีความหมายครอบคลุมกิจกรรมด้านการศึกษา ที่ถูกวางรูปแบบโดยครูผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเนื่องจากรูปแบบ การสื่อสารและการควบคุมนักเรียนทางไกลแบบ Online มีลักษณะพิเศษที่แตกต่าง จากการเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งทำกันเป็นปกติดั้งนั้นเป้าหมายของการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตจึงประกอบด้วย
     
     วัตถุประสงค์หลัก ประการ
  • การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมกับระดับผู้เรียน
  • การเสริมทักษะและความรู้เพื่อให้ครูสามารถดำเนินการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การกำหนดเป้าหมายการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต

ซอฟแวร์เพื่อการศึกษา


      ความหมายของซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา                              
      ซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้โดยนักเรียนและครูเพื่อเพิ่มการเรียนการสอน แบบดั้งเดิม  
  และสร้างเครื่องมือการเรียนรู้

     ข้อดีของซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา                                             
  • สื่อเพื่อการศึกษามีจํานวนมาก มีความแพร่หลายมาก ยิ่งขึ้น ส่งผลต่อโอกาสทางการศึกษาของเยาวชน  
  • ขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้พิการ หรือผิดปกติ  เช่น หูหนวก ตาบอดสมาธิสั้น ออทิสติก
  • เข้าถึงได้ง่าย มีรูปแบบแบบที่ยืดหยุ่นกับผู้ใช้ได้ ข้อมูล ที่ทันสมัยเยาวชนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ข้อดีของซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา  
     ประเภทของซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา                                       
     
     ซอฟต์แวร์เพื่อการบริหาร                                                
  • การบริหารจัดการสถานศึกษา   
  • การบริหารจัดการองค์กรการศึกษา
  • การบริหารจัดการส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา 
    ซอฟต์แวร์เพื่อการนําไปใช้                                              
  • การนําไปใช้ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
  •  การนําไปใช้ระหว่างผู้ปกครองกับผู้เรียน  
  •  การนําไปใช้ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนเองและผู้เรียนกับสังคม
    ข้อเสนอแนะต่อซอฟแวร์การศึกษา                                             
       สื่อเพื่อการศึกษามีจํานวนมาก ที่ยังเป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์         
ทําให้ผู้ที่มีรายได้น้อยเข้าถึงยาก ควรมีหน่วยงานสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรให้ความสําคัญในการพัฒนาผู้สอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่เสมอ


จริยธรรมและความปลอดภัย


     การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว                   
     ความเป็นส่วนตัวคือสิทธิที่อยู่ตามลำพังและสิทธิที่เป็นอิสระจากการถูกรบกวนโดยไม่มีเหตุอันควร ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลสารสนเทศ คือ สิทธิในการตัดสินใจว่าเมื่อใดข้อมูลสารสนเทศของบุคคลหนึ่ง จะสามารถเปิดเผยให้กับผู้อื่นได้ และภายใต้ขอบเขตอย่างไร

     แนวทางการพัฒนาคุ้มครองความเป็นส่วนตัว           
  • ข้อมูลส่วนตัว ควรจะได้รับการตรวจสอบก่อนจะนำเข้าสู่ฐานข้อมูล
  • ข้อมูลควรมีความถูกต้องแม่นยำ และมีความทันสมัย
  • แฟ้มข้อมูลควรทำให้บุคคลสามารถเข้าถึง (ข้อมูลของตนและตรวจสอบความถูกต้องได้
  • ควรมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลบุคคล ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิค และการบริหาร
  • บุคคลที่สามไม่สมควรได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลโดยปราศจากการรับรู้หรืออนุญาตของเจ้าของ ยกเว้นโดยข้อกำหนดของกฎหมาย
  • ข้อมูลไม่ควรถูกเปิดเผยด้วยเหตุผลที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล
            อาชญากรรมคอมพิวเตอร์                                            
     อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ 
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
  • การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
  • การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล 
  • การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ 
  • การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams) 

         การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์                
   การรักษาความปลอดภัยให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และยังช่วยลดข้อผิดพลาด การทำลายระบบสารสนเทศ มีระบบการควบคุมที่สำคัญ ประการ คือ

  • การควบคุมระบบสารสนเทศ
  • การควบคุมกระบวนการทำงาน
  • การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

Google Docs

สรุปผลข้อมูล

 

                              ชาย  คิดเป็น 37 %
                              หญิง คิดเป็น 63 %
                              อายุ 10-15 ปี  คิดเป็น  0 %
                              อายุ 16-20 ปี  คิดเป็น  68 %
                              อายุ 20-25 ปี  คิดเป็น  5 %
                              อื่นๆ              คิดเป็น  26 %

                             เคยดู       คิดเป็น 100 %
                             ไม่เคยดู    คิดเป็น 0  %
                             ชอบดู      คิดเป็น 100 %
                             ไม่ชอบดู   คิดเป็น 0  %

                            




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น